Health impact การดำเนินการด้านสุขภาพ


ในปัจจุบันหน่วยงานของท่านมีความร่วมมือกับองค์การทางด้านสุขภาพ เพื่อพัฒนาสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี ในระดับใดบ้าง

1) โครงการทหารพันธุ์ดี

SDGs 3 GOOD HEALTH AND WELL-BEING

 

 

 

 

 

ชื่องานวิจัย : โครงการทหารพันธุ์ดี


คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ที่มาและความสำคัญ

เป็นโครงการที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มูลนิธิชัยพัฒนา โดยศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ จัดตั้งโครงการนี้ขึ้น

ขอบเขต/พื้นที่การศึกษา

มณฑลทหารบกที่ 17 ค่ายสุรสีห์ ตำบลลาดหญ้า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี

วัตถุประสงค์

1) ให้ทหารกองประจำการที่มีความสนใจในด้านการเกษตร ได้มีโอกาสเรียนรู้ ขั้นตอนและกระบวนการปลูกผักปลอดภัย เมื่อปลดจากกองประจำการแล้ว

2) สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานเมล็ดพันธุ์แก่ทหารกองหนุนที่เข้าร่วมโครงการทหารพันธุ์ดี เพื่อนำกลับไปปลูกที่บ้านของตน ให้มีผักปลอดภัยบริโภคกันในครัวเรือน หากสามารถนำไปจำหน่ายเป็นการเพิ่มรายได้ และลดรายจ่ายในครัวเรือน

3) เพื่อให้ประชาชนที่เข้ามาศึกษาดูงานในพื้นที่ศูนย์การเรียนรู้ มทบ.17 ได้รับเมล็ดพันธุ์ ทางการเกษตรที่ปลอดภัยและนำไปขยายพันธุ์ต่อได้

4) เป็นจุดเริ่มต้นของการขยายผลการปลูกผักปลอดภัยสู่ชุมชนในพื้นที่รอบค่าย

แหล่งทุนสนับสนุน

หน่วยงานที่ร่วมมือ

มณฑลทหารบกที่ 17 ค่ายสุรสีห์

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ระดับความร่วมมือ

ระดับประเทศ

ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

อ้างอิงการดำเนินงาน

https://mt.mahidol.ac.th/2019/09/05/greet-hrh-princess-maha-chakri-sirindhorn/

2) โครงการ Green Army, Green Farmer เพื่อประเทศชาติและประชาชน

SDGs 3 GOOD HEALTH AND WELL-BEING

 

 

 

 

 

ชื่องานวิจัย : โครงการ Green Army, Green Farmer เพื่อประเทศชาติและประชาชน


คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ที่มาและความสำคัญ

เป็นโครงการที่ริเริ่มจากคำปรารภของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ต่อคณบดีคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล (ศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรเฉลิม อิศรางกูร ณ อยุธยา) ในโอกาสนำเสนอผลสัมฤทธิ์ของโครงการพัฒนาเขตเกษตรและอาหารปลอดภัย 8 จังหวัดภาคกลางตอนล่างและภาคตะวันตก ที่จังหวัดนครปฐม เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561 ภายใต้โครงการพัฒนาเกษตรปลอดภัย คณะเทคนิคการแพทย์ ปีงบประมาณ 2561 โดยนายกรัฐมนตรีได้ปรารภถึงการขยายขอบเขตการดำเนินงานเป็นล้านไร่ทั่วประเทศ เพื่อให้สอดรับกับนโยบายรัฐบาลในการส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่ การพัฒนาเกษตรอินทรีย์และเกษตรกรรมยั่งยืน 5 ล้านไร่ การยกระดับสุขภาพและคุณภาพชีวิตให้แก่ประชาชน ตลอดจนนำไปสู่การสร้างความเข้มแข็งชุมชน การกระจายรายได้ และการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน

จากดำริและคำปรารภของท่านนายกรัฐมนตรี ส่งผลให้เกิดการประชุมปรึกษาหารือร่วมต่อเนื่องจากหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน จึงนำมาซึ่งการนำเสนอโครงการ Green Army, Green Farmer เพื่อประเทศชาติและประชาชน โดยมีกรอบแนวคิดที่สำคัญ คือ การบูรณาการความร่วมมือด้านเกษตรและอาหารปลอดภัยเพื่อส่งเสริมนโยบายรัฐบาลโดยใช้พื้นที่ทหารเป็นฐาน โดยพื้นที่ต้นแบบของโครงการนี้จะเริ่มดำเนินการในพื้นที่ของมณฑลทหารบกที่ 17 จังหวัดกาญจนบุรี (นำโดย พล.ต.วสุ เจียมสุข ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 17) ก่อนการขยายผลไปยังพื้นที่อื่น ๆ ทั่วประเทศในอนาคต เนื่องจาก มีจุดเด่นหลายประการซึ่งจะนำไปสู่ปัจจัยแห่งความสำเร็จของโครงการ

ขอบเขต/พื้นที่การศึกษา

มณฑลทหารบกที่ 17 ค่ายสุรสีห์ ตำบลลาดหญ้า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี

วัตถุประสงค์

1) พื้นที่ทหารเป็นพื้นที่ที่สามารถจำกัดขอบเขตการดูแลได้ง่าย รวมทั้งห่างไกลหรือไม่ถูกล้อมรอบด้วยแปลงเกษตรที่ใช้สารเคมี ทำให้การผลิตเกษตรปลอดภัยหรือเกษตรอินทรีย์ สามารถบรรลุผลได้อย่างเป็นรูปธรรมโดยง่าย ซึ่งในช่วงแรกสามารถมุ่งเป้าการพัฒนาในลักษณะเกษตรปลอดภัยก่อน เนื่องจาก เกษตรปลอดภัยสามารถเปิดกว้างและให้โอกาสเกษตรกรที่มีความมุ่งมั่นในการปรับเปลี่ยนวิถีการผลิตจากเกษตรใช้สารเคมีไปสู่การลด ละ เลิกการใช้สารเคมี เพื่อการผลิตผลผลิตที่มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค และสามารถได้รับการรับรองคุณภาพผลผลิตเพื่อให้สามารถจำหน่ายและสร้างรายได้เลี้ยงครอบครัวไปได้ก่อน หลังจากนั้น ค่อยขยายผลไปสู่เกษตรอินทรีย์หรือเกษตรยั่งยืนตามมาตรฐานการรับรองต่าง ๆ ได้ในอนาคต

2) การเปิดพื้นที่ทหารเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรเข้าร่วมพัฒนาพื้นที่ในการผลิตเกษตรปลอดภัยหรือเกษตรอินทรีย์ จะสนองตอบต่อนโยบายรัฐบาลในการสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนและเศรษฐกิจฐานราก รวมถึงช่วยแก้ปัญหาการไม่มีสิทธิครอบครองหรือกรรมสิทธิ์ในที่ดินทำกิน ซึ่งจะทำให้นโยบายการส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่และเกษตรกรรมยั่งยืนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

3) หน่วยงานทหารมีศักยภาพเชิงพื้นที่ ทั้งเรื่องของความพร้อมของกำลังพล อุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ ที่จะช่วยทำให้การพัฒนาพื้นที่และแหล่งน้ำ (ซึ่งเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญ) เพื่อส่งเสริมเกษตรปลอดภัยหรือเกษตรอินทรีย์ให้เกิดขึ้นได้โดยเร็ว

4) สามารถขยายผลการเป็นพื้นที่ศึกษาเรียนรู้ และแหล่งดูงานด้านวิถีเกษตรปลอดภัยแบบครบวงจร ซึ่งต่อยอดจากโครงการเกษตรพอเพียงตามศาสตร์พระราชาของทางมณฑลทหารบกที่ 17 ที่มีอยู่เดิม ให้แก่หน่วยทหารในพื้นที่ต่าง ๆ รวมถึงประชาชน และเกษตรกรผู้สนใจได้นำไปปรับใช้เพื่อร่วมกันขยายผลทั่วทั้งประเทศโดยการดำเนินงานในพื้นที่มณฑลทหารบกที่ 17 จะเป็นการบูรณาการร่วมกับหลายภาคส่วน ซึ่งในเบื้องต้น ภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ภาควิชาการ (มหาวิทยาลัยมหิดล โดยคณะเทคนิคการแพทย์ และเครือข่ายสถาบันวิชาการอื่น ๆ ภายนอก) หน่วยงานภาครัฐ-รัฐวิสาหกิจจากส่วนกลางและส่วนราชการในจังหวัดกาญจนบุรี (อาทิ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเกษตรจังหวัดกาญจนบุรี กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) องค์การตลาด กระทรวงมหาดไทย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ และโรงพยาบาลค่ายสุรสีห์) ภาคเอกชน (อาทิ บริษัท อีสต์เวสต์ซีด จำกัด บริษัท พีเค ดับบลิว จำกัด บริษัท ประชารัฐรักสามัคคีประเทศไทย จำกัด) ตลอดจนเกษตรกรและประชาชนในพื้นที่ เพื่อเป็นต้นแบบในการส่งเสริมการผลิตเกษตรและอาหารปลอดภัยแบบครบวงจรตามห่วงโซ่คุณค่า (Value chain) ในพื้นที่ที่หน่วยทหารดูแลรับผิดชอบ ตั้งแต่ต้นทาง คือ การพัฒนาแปลงเกษตร วัตถุดิบ และกระบวนการผลิตที่เหมาะสม กลางทาง คือ การตรวจวิเคราะห์รับรองผลผลิตที่มีคุณภาพตั้งแต่แปลงปลูกจนถึงผลผลิตที่จะเข้าสู่กระบวนการคัดแยกบรรจุ หรือการแปรรูป ปลายทาง คือ การส่งเสริมการตลาด และการส่งมอบผลผลิตเกษตรปลอดภัยไปสู่ผู้บริโภคในกลุ่มต่าง ๆ อาทิ ผู้ป่วยในโรงพยาบาล นักเรียน ตลอดจนประชาชนโดยทั่วไป ผ่านระบบโลจิสติกส์ไปสู่โรงพยาบาล โรงเรียน ตลาดประชารัฐในรูปแบบต่าง ๆ และโมเดิร์นเทรด โดยภายใต้โครงการจะมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการติดตามประมวลผล และเทคโนโลยีส่งเสริมการผลิตที่เหมาะสม ควบคู่กับการใช้ข้อมูลทางสุขภาพในการปรับเปลี่ยนทัศนคติและรูปแบบการผลิตเกษตรที่ปลอดภัยต่อผู้ผลิต และผู้บริโภค อันจะนำไปสู่แนวทางการดำเนินการที่มีความยั่งยืนในระยะยาว

แหล่งทุนสนับสนุน

หน่วยงานที่ร่วมมือ

ภาควิชาการ (มหาวิทยาลัยมหิดล โดยคณะเทคนิคการแพทย์ และเครือข่ายสถาบันวิชาการอื่นๆ ภายนอก) หน่วยงานภาครัฐ/รัฐวิสาหกิจจากส่วนกลางและส่วนราชการในจังหวัดกาญจนบุรี (อาทิ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเกษตรจังหวัดกาญจนบุรี กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) องค์การตลาด กระทรวงมหาดไทย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ และโรงพยาบาลค่ายสุรสีห์) ภาคเอกชน (อาทิ บริษัท อีสต์เวสต์ซีด จำกัด บริษัท พีเค ดับบลิว จำกัด บริษัท ประชารัฐรักสามัคคีประเทศไทย จำกัด)

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

เกษตรกร ผู้ป่วยในโรงพยาบาล นักเรียน ตลอดจนประชาชนโดยทั่วไป

ระดับความร่วมมือ

ระดับประเทศ

ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

อ้างอิงการดำเนินงาน

https://mt.mahidol.ac.th/2018/11/21/3736/

3) ประชุมเชิงปฏิบัติการแผนงานและแนวทางการดำเนินงานอาหารปลอดภัยเขตสุขภาพที่ 5

SDGs 3 GOOD HEALTH AND WELL-BEING

 

 

 

 

 


ชื่องานวิจัย : ประชุมเชิงปฏิบัติการแผนงานและแนวทางการดำเนินงานอาหารปลอดภัยเขตสุขภาพที่ 5


คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ที่มาและความสำคัญ

เป็นโครงการที่ดำเนินการต่อเนื่องจากโครงการพัฒนาเกษตรปลอดภัย ในการส่งเสริมการเกษตรและอาหารปลอดภัย โดยมุ่งเน้นการติดตามผลการดำเนินงานจากต้นทางจาการส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาผลิตเกษตรและอาหารปลอดภัย เพื่อส่งมอบอาหารปลอดภัยไปสู่ผู้บริโภคกลุ่มต่าง ๆ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยในโรงพยาบาล กลุ่มบุคลากรที่อยู่ในหน่วยงานของรัฐและเอกชน และกลุ่มผู้บริโภค ประชาชนทั่วไป

ขอบเขต/พื้นที่การศึกษา

โรงพยาบาลของรัฐทุกแห่ง ในเขตสุขภาพที่ 5

วัตถุประสงค์

1) เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายโรงพยาบาลอาหารปลอดภัย ในการส่งต่อผลผลิตเกษตรปลอดภัยเข้าสู่โรงพยาบาลในระดับเขต ระดับจังหวัด รวมถึงการพัฒนาสู่การเป็น โรงเรียนอาหารปลอดภัย ตลาด Green and Clean Food Zone และร้านอาหารปลอดภัย ตามนโยบายการดำเนินงานด้านอาหารปลอดภัย ตามนโยบาย Thailand 4.0 และแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี Food safety 4.0

2) เพื่อยกระดับมาตรฐานโดยการตรวจรับรองสินค้าเกษตรและอาหารปลอดภัย โดยนำความเชี่ยวชาญด้านการตรวจวิเคราะห์ทางเทคนิคการแพทย์ มาช่วยในการตรวจวิเคราะห์สถานะทางสุขภาพและสารตกค้างในกลุ่มเกษตรกรและแปลงปลูก ควบคู่กับการวิเคราะห์ผลผลิตทางการเกษตรและตัวอย่างอาหาร เพื่อส่งเสริมเกษตรและอาหารปลอดภัย

แหล่งทุนสนับสนุน

หน่วยงานที่ร่วมมือ

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ในเขตสุขภาพที่ 5

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

1) เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลของรัฐที่รับผิดชอบงานอาหารปลอดภัยโภชนากรและเจ้าหน้าที่จากกลุ่มงานเภสัชกรรมจากโรงพยาบาลของรัฐทุกแห่ง ในเขตสุขภาพที่ 5

2) เจ้าหน้าที่จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ทั้ง 8 จังหวัด ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่รับผิดชอบงานสุขาภิบาลอาหาร และเจ้าหน้าที่จากกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค

3) ทีมบุคลากรคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ระดับความร่วมมือ

ระดับประเทศ

ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

อ้างอิงการดำเนินงาน

https://mt.mahidol.ac.th/2019/04/04/health-5/

4) การตรวจรับรองเกษตรและอาหารปลอดภัยจากสารตกค้างยาฆ่าแมลงในกลุ่มภาคกลาง (พัฒนาเกษตรและอาหารปลอดภัย ปีที่ 2)

SDGs 3 GOOD HEALTH AND WELL-BEING

 

 

 

 

 


ชื่องานวิจัย : การตรวจรับรองเกษตรและอาหารปลอดภัยจากสารตกค้างยาฆ่าแมลงในกลุ่มภาคกลาง


คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ที่มาและความสำคัญ

สืบเนื่องจากผลการดำเนินการโครงการพัฒนาเกษตรและอาหารปลอดภัย ปีงบประมาณ 2561 คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้นำความเชี่ยวชาญด้านการตรวจวิเคราะห์โดยเทคนิคที่มีความไวและความจำเพาะสูง มาช่วยในการตรวจวิเคราะห์สถานะทางสุขภาพและสารตกค้างในกลุ่มเกษตรกร การตรวจวิเคราะห์สารตกค้างยาฆ่าแมลงที่แปลงปลูกควบคู่กับการวิเคราะห์ผลผลิตทางการเกษตรและตัวอย่างอาหาร เพื่อส่งเสริมเกษตรและอาหารปลอดภัย และยกระดับมาตรฐานโดยการตรวจรับรองสินค้าเกษตรและอาหารปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตผักและผลไม้ที่ปลอดจากสารพิษตกค้างยาฆ่าแมลง โลหะหนัก และเชื้อก่อโรค ในพื้นที่หลักโดยใช้นครปฐม เป็นโมเดลต้นแบบในการพัฒนาศักยภาพการผลิตด้านเกษตรในพื้นที่ ที่ส่งผลต่อเนื่องทำให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ การพัฒนาอาชีพที่สร้างมูลค่าเพิ่ม การยกระดับรายได้ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ผู้ป่วยในโรงพยาบาล และผู้บริโภคโดยทั่วไป รวมถึงพื้นที่ในกลุ่มจังหวัดภาคกลาง 8 จังหวัด โดยความร่วมมือร่วมกับภาคีเครือข่ายต่างๆ ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคกลาง (นครปฐม สุพรรณบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์) ในการบูรณาการการทำงานตลอดห่วงโซ่คุณค่า (value chain) ต้นทาง มีการสำรวจและพัฒนาแปลงเป้าหมายสู่เกษตรปลอดภัย (จำแนกตามผลผลิต) ผ่านการจัดสัมมนาฝึกอบรมเพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติ การตรวจวิเคราะห์สถานะทางสุขภาพและสารตกค้างในร่างกายให้แก่กลุ่มเกษตรกร รวมถึงการสุ่มตรวจวิเคราะห์แปลงและการให้คำแนะนำในปัจจัยและกระบวนการผลิตต่างๆ กลางทาง การตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการเพื่อการรับรองผลผลิตเกษตรปลอดภัย ใน 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มสารตกค้างยาฆ่าแมลง สารต้านเชื้อรา และสารอื่นๆ 2) กลุ่มโลหะหนัก 3) กลุ่มเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค และ 4) กลุ่มปรสิตและไข่พยาธิ และ ปลายทาง การส่งต่อผลผลิตเกษตรปลอดภัยเข้าสู่โรงพยาบาลต่างๆ ในจังหวัดนครปฐม 9 โรงพยาบาล และขยายสู่การสนับสนุนนโยบายโรงพยาบาลอาหารปลอดภัยของกระทรวงสาธารณสุขจำนวนประมาณ 50 โรงพยาบาลในเขตสุขภาพที่ 5 โดยมีราคาการรับซื้อที่สูงขึ้นประมาณร้อยละ 30-40 จากราคาผลผลิตเกษตรทั่วไป นอกจากนั้น ผลผลิตเหล่านี้ ยังถูกเชื่อมโยงไปสู่ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ ตลาดและร้านอาหารสุขภาพจำนวนหนึ่ง ทั้งนี้ ผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานได้ถูกนำกราบเรียนท่านนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา) และได้ถูกขยายผลไปสู่การพัฒนาโครงการ “Green Army, Green Farmer เพื่อประเทศชาติและประชาชน” ซึ่งมีเป้าหมายการร่วมพัฒนาเกษตรปลอดภัยในพื้นที่ที่ทหารดูและรับผิดชอบ เพื่อร่วมกันต่อยอดในระดับประเทศ สนองต่อนโยบายเกษตรแปลงใหญ่และเกษตรกรรมยั่งยืนของรัฐบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

และในปีงบประมาณ 2562 คณะฯ ได้รับจัดสรรงบประมาณต่อเนื่อง โดยได้รับเงินอุดหนุน “การตรวจรับรองเกษตรและอาหารปลอดภัยจากสารตกค้างยาฆ่าแมลงในกลุ่มภาคกลาง” จำนวน 10,000,000 บาท ซึ่งคณะเทคนิคการแพทย์ จะได้ดำเนินการต่อเนื่องจากโครงการพัฒนาเกษตรปลอดภัย ในการส่งเสริมการเกษตรและอาหารปลอดภัย โดยมุ่งเน้นการติดตามผลการดำเนินงานจากต้นทางจาการส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาผลิตเกษตรและอาหารปลอดภัย เพื่อส่งมอบอาหารปลอดภัยไปสู่ผู้บริโภคกลุ่มต่าง ๆ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยในโรงพยาบาล กลุ่มบุคลากรที่อยู่ในหน่วยงานของรัฐและเอกชน และกลุ่มผู้บริโภค ประชาชนทั่วไป

ขอบเขต/พื้นที่การศึกษา

1) พื้นที่ในกลุ่มจังหวัดภาคกลาง 8 จังหวัด

2) พื้นที่กลุ่มภาคกลางอื่น ๆ

วัตถุประสงค์

1) เพื่อนำความเชี่ยวชาญด้านการตรวจวิเคราะห์ทางเทคนิคการแพทย์ มาช่วยในการตรวจวิเคราะห์สถานะทางสุขภาพและสารตกค้างในกลุ่มเกษตรกรและแปลงปลูก ควบคู่กับการวิเคราะห์ผลผลิตทางการเกษตรและตัวอย่างอาหาร เพื่อส่งเสริมเกษตรและอาหารปลอดภัย

2) เพื่อยกระดับมาตรฐานโดยการตรวจรับรองสินค้าเกษตรและอาหารปลอดภัย

3) เพื่อสนับสนุนนโยบายโรงพยาบาลอาหารปลอดภัย ในการส่งต่อผลผลิตเกษตรปลอดภัยเข้าสู่โรงพยาบาลต่างๆ ในโรงพยาบาลจังหวัดภาคกลาง

แหล่งทุนสนับสนุน

งบประมาณเงินอุดหนุน ปี 2562

หน่วยงานที่ร่วมมือ

1) กระทรวงสาธารณสุข ในเขตสุขภาพที่ 5

2) เครือข่ายเกษตรกร 8 จังหวัดภาคกลาง

3) บริษัท เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ จำกัด

4) มณฑลทหารบกที่ 17 ค่ายสุรสีห์ จังหวัดกาญจนบุรี

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

1)กลุ่มเกษตรกร

2) ผู้บริโภคในกลุ่มต่าง ๆ อาทิ ผู้ป่วยในโรงพยาบาล ประชาชนในพื้นที่จังหวัด ผู้บริโภคทั่วไป

ระดับความร่วมมือ

ระดับประเทศ

ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

1 ตุลาคม 2561 – 30 กันยายน 2562

อ้างอิงการดำเนินงาน

https://mt.mahidol.ac.th/2019/09/12/gap-residue-th/

https://mt.mahidol.ac.th/2019/09/05/healthy-journey-samparn/

เพาะผัก เพ(ร)าะสุข


หน่วยงานของท่านมีกิจกรรม/โครงการที่ดำเนินการในชุมชนโดยรอบหน่วยงาน (รวมถึงโปรแกรมจิตอาสาของนักศึกษา) เพื่อพัฒนาสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (สุขอนามัย โภชนาการ การวางแผนครอบครัว กีฬา การออกกำลังกาย การดูแลผู้สูงอายุ หรือหัวข้ออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง) หรือไม่

1) โครงการฝึกปฏิบัติการเรียนรู้ชุมชนปีการศึกษา 2562

SDGs 3 GOOD HEALTH AND WELL-BEING

 

 

 

 

 


ชื่องานวิจัย : โครงการฝึกปฏิบัติการเรียนรู้ชุมชนปีการศึกษา 2562


คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ที่มาและความสำคัญ

สำหรับการจัดกระบวนการเรียนรู้ภายใต้รายวิชานี้ เป็นการยกระดับและต่อยอดกระบวนการจัดการเรียนการสอนภายใต้โมดูลเทคนิคการแพทย์ชุมชน (Community Medical Technology) ซึ่งคณะฯ ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2548 ขึ้นมาเติมเต็มให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น โดยเน้นการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมต่างๆ ที่หลากหลาย อาทิ การเปิดโลกทัศน์เกี่ยวกับบทบาทและความสำคัญของวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ที่มีต่อชุมชนและสังคม การศึกษาข้อมูลทั่วไปของชุมชนผ่านเทคนิคแผนที่เดินดิน การค้นหาผู้รู้และผู้นำทางสุขภาพในพื้นที่ผ่านเทคนิค Sociogram การระดมความคิดเห็นเพื่อการวางแผนการดำเนินกิจกรรมในพื้นที่ผ่านเทคนิคต่างๆ (อาทิ การถ่ายทอดผ่านบัตรคำ การระดมสมอง และการสร้างแผนที่ความคิด) การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงในพื้นที่เพื่อเป็นการบูรณาการองค์ความรู้ทางวิชาการ และทักษะปฏิบัติทางวิชาชีพเข้ากับทิศทางการสร้างเสริมสุขภาพชุมชน โดยอาศัยฐานคิดการทำให้ “สุขภาพดีเป็นเรื่องที่จับต้องได้สำหรับทุกคน…สุขภาพดีสามารถเห็นได้ตั้งแต่ระดับโมเลกุลที่อยู่ภายในร่างกายของแต่ละบุคคล…และสุขภาพดีจะเกิดขึ้นได้ต้องมาจากความตระหนักรู้และความใส่ใจในสุขภาพของแต่ละปัจเจกบุคคล” ตลอดจนการนำเสนอข้อมูลและการให้ข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อการเติมเต็มความเป็นบัณฑิตเทคนิคการแพทย์ที่สมบูรณ์แบบโดยมีคุณลักษณะที่สำคัญ คือ “Smart in Lab, Strong in Community”

ศักยภาพและความสามารถที่คาดหวัง (Competency) ตลอดรายวิชาเทคนิคการแพทย์ชุมชน

  • Competency 1 : มีความสามารถในการเป็นผู้นำในการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่ผู้อื่นได้
  • Competency 2 : มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ฐานความรู้ทางวิชาการในการชี้นำสังคม ตลอดจนการเรียนรู้ร่วมและสร้างศักยภาพให้กับชุมชนได้
  • Competency 3 : มีความสามารถในการยกระดับการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการทำงานเป็นทีม
  • Competency 4 : มีศักยภาพในการสื่อสาร และปฏิสัมพันธ์ โดยอาศัยการเชื่อมโยงฐานความรู้ และประสบการณ์ที่มีอยู่เข้ากับฐานความคิด ความเข้าใจของผู้อื่นได้
  • Competency 5 : มีความสามารถในการตระหนักรู้ถึงคุณค่าแห่งการเรียนรู้

ขอบเขต/พื้นที่การศึกษา

ชุมชนคลองใหม่ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

วัตถุประสงค์

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เพื่อการบูรณาการองค์ความรู้ กระบวนการคิด และทักษะการปฏิบัติ ในการพัฒนาศักยภาพและความสามารถที่คาดหวังของนักศึกษาเทคนิคการแพทย์ เพื่อมุ่งสู่การเป็นนักเทคนิคการแพทย์สมบูรณ์แบบ (Well-rounded scholar) ที่มีความรู้และความสามารถทางวิชาการ ที่สามารถประยุกต์ใช้พื้นฐานวิชาการทางเทคนิคการแพทย์ ควบคู่กับการปรับใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม ในการสร้างสรรค์งานที่มีคุณภาพออกไปสู่สังคม และสนองตอบต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

แหล่งทุนสนับสนุน

หน่วยงานที่ร่วมมือ

1) ชุมชนคลองใหม่ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

2) นักศึกษาคณะเทคนิคการแพทย์

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ประชาชนในชุมชน

ระดับความร่วมมือ

ระดับตำบล

ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

อ้างอิงการดำเนินงาน

https://mt.mahidol.ac.th/2019/12/06/klongmai/

2) โครงการเติมรักให้เต็มยูนิต ต่อชีวิตด้วยโลหิตคุณ

SDGs 3 GOOD HEALTH AND WELL-BEING

 

 

 

 

 

ชื่องานวิจัย : โครงการเติมรักให้เต็มยูนิต ต่อชีวิตด้วยโลหิตคุณ


คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ที่มาและความสำคัญ

คณะเทคนิคการแพทย์ โดยคณะนักศึกษาสาขาเทคนิคการแพทย์ ชั้นปีที่ 4 ร่วมกับภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 4 ศูนย์ภาคบริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย จังหวัดราชบุรี ซึ่งเป็นคู่ความร่วมมือ จัดโครงการ “ เติมรักให้เต็มยูนิต ต่อชีวิตด้วยโลหิตคุณ ” ณ ห้อง 322 ชั้น 3 อาคารศูนย์การเรียนรู้ (MLC) มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา โดยโครงการนี้คณาจารย์และนักศึกษาเทคนิคการแพทย์ ชั้นปีที่ 4 ได้จัดอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ซึ่งครั้งนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 3 เพื่อเป็นการฝึกประสบการณ์ทางวิชาชีพด้านจุลทรรศนศาสตร์คลินิก ให้กับนักศึกษาได้เรียนรู้เกิดความเข้าใจและมองเห็นภาพขั้นตอนการทำงานและกระบวนการรับบริจาคโลหิตจากการปฏิบัติงานจริง ในการนี้มีบุคลากร นักศึกษา ประชาชนโดยรอบมหาวิทยาลัยมหิดล และสถานที่ใกล้เคียงที่มีจิตศรัทธามาร่วมกันบริจาคโลหิตกันเป็นจำนวนมาก

ขอบเขต/พื้นที่การศึกษา

มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

วัตถุประสงค์

เพื่อเป็นการฝึกประสบการณ์ทางวิชาชีพด้านจุลทรรศนศาสตร์คลินิก ให้กับนักศึกษาได้เรียนรู้เกิดความเข้าใจและมองเห็นภาพขั้นตอนการทำงานและกระบวนการรับบริจาคโลหิตจากการปฏิบัติงานจริง

แหล่งทุนสนับสนุน

หน่วยงานที่ร่วมมือ

ภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 4 ศูนย์ภาคบริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย จังหวัดราชบุรี

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ประชาชนทั่วไป

ระดับความร่วมมือ

ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

วันอังคารที่ 10 กันยายน 2562

อ้างอิงการดำเนินงาน

https://mt.mahidol.ac.th/2019/09/12/blood-donation-3/

3) โครงการประยุกต์ใช้และพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม (Holistic health & Wellness) เพื่อยกระดับสุขภาวะผู้สูงอายุในกลุ่มภาคกลาง

SDGs 3 GOOD HEALTH AND WELL-BEING

 

 

 

 

 


ชื่องานวิจัย : โครงการประยุกต์ใช้และพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม (Holistic health & Wellness) เพื่อยกระดับสุขภาวะผู้สูงอายุในกลุ่มภาคกลาง


คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ที่มาและความสำคัญ

เป็นโครงการที่มุ่งเน้นการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีการดูแลสุขภาวะกายและใจไปประยุกต์ใช้เพื่อการดูแลสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ โดยอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย การใช้เครื่องมือตรวจวิเคราะห์ค่าการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของร่างกายที่สามารถบ่งชี้ความเสี่ยงในการเกิดโรคหรือความผิดปกติต่างๆ รวมไปถึงสถานะความเครียดที่ประเมินผ่านการวิเคราะห์คลื่นสัญญาณสมอง เพื่อนำไปสู่การวางแผนแนวทางการปรับสมดุลของร่างกายและจิตใจแบบองค์รวม โดยอาศัยฐานคิด การทำให้ “สุขภาพดี (กาย และจิต) เป็นเรื่องที่จับต้องได้สำหรับ ทุกคน สุขภาพดีสามารถเห็นได้ตั้งแต่ระดับโมเลกุลที่อยู่ภายในร่างกายของแต่ละบุคคลสุขภาพดีจะเกิดขึ้นได้ต้องมาจากความตระหนักรู้และความใส่ใจในสุขภาพของแต่ละปัจเจกบุคคล” โดยโครงการดังกล่าวจะดำเนินการในพื้นที่ต่างๆ ในกลุ่มจังหวัดภาคกลาง เพื่อใช้เป็นโมเดลต้นแบบเมืองน่าอยู่ที่ส่งเสริมการใช้นวัตกรรมเพื่อการดูแลสุขภาพให้แก่ประชาชนที่กำลังจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและกลุ่มผู้สูงอายุในปัจจุบัน อันจะยังผลต่อการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในการเป็นสังคมผู้สูงอายุที่มีสุขภาวะกาย-ใจดีและเป็นสังคมที่มีคุณภาพและความยั่งยืนของประเทศต่อไป

1) คณะเทคนิคการแพทย์ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง เสถียรธรรมสถาน และศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน)
ร่วมกันพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้บนฐานการเจริญสติและการมีคุณธรรมที่ดี (Mindfulness & Moral based learning society โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมสุขภาวะที่ดีจับต้องได้แก่ประชาชนทุกกลุ่มวัย

  • เป็นความร่วมมือด้านวิชาการผ่านกิจกรรมการดำเนินงานและวิถีปฏัติที่หลากหลาย
  • เป็นความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อส่งเสริมการนำนวัตกรรม เทคโนโลยีและข้อมูลต่าง ๆ มาใช้เพื่อสร้างเสริมสุขภาวะแก่ประชาชนเพื่อเป็นต้นแบบการสร้างการเปลี่ยนแปลงในสังคมไทยและสอดรับต่อทิศทางการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
  • เป็นความร่วมมือในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และสื่อสาธารณะในวงกว้างผ่านสื่อรูปแบบต่าง ๆ

2) คณะเทคนิคการแพทย์ ร่วมกับบริษัท สามพรานริเวอร์ไซต์ จำกัด จัดงาน The Healthy Journey เรียนรู้วิถีสุขภาวะเพื่อการเปลี่ยนแปลง ในการจัดกิจกรรมประเมินสถานะทางสุขภาพ ขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์สู่ชีวิตที่สมดุล ความรู้เกี่ยวกับเกษตรปลอดภัย การสาธิตการตรวจวิเคราะห์สารตกค้างยาฆ่าแมลง และกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพดีแบบองค์รวม (Holistic & Wellness

ขอบเขต/พื้นที่การศึกษา

1) เสถียรธรรมสถาน และศูนย์คุณธรรม

2) ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน)

3) สามพรานริเวอร์ไซต์ จำกัด

วัตถุประสงค์

1) เพื่อประยุกต์ใช้และพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม (Holistic Health & Wellness) ที่อาศัยการบูรณาการกระบวนการพัฒนาสติ และวิถีความสงบสุขแห่งจิต (Mindfulness & Relaxation) ควบคู่กับการตรวจประเมินและติดตามดัชนีชี้วัดสุขภาพกาย เพื่อเป็นฐานในการดูแลสร้างเสริมสุขภาพที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมแก่ผู้สูงอายุ และประชาชนก่อนวัยเกษียณของจังหวัดต่างๆ ในพื้นที่กลุ่มภาคกลางเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุได้อย่างยั่งยืน

2) เพื่อประเมินความเป็นไปได้ในการขยายผลการนำนวัตกรรมการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมไปสู่ประชาชนกลุ่มใหญ่ (Mass population) ของประเทศ และการนำเสนอข้อมูลเชิงนโยบายในการดูแลสุขภาพของประชาชนที่เหมาะสมในแต่ละกลุ่มวัย เพื่อส่งเสริมการมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี และลดแนวโน้มการเกิดโรคซึ่งเป็นภาระค่าใช้จ่ายทางการรักษาจำนวนมหาศาลของประเทศ

แหล่งทุนสนับสนุน

หน่วยงานที่ร่วมมือ

1) เสถียรธรรมสถาน

2) ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน)

3) สามพรานริเวอร์ไซต์ จำกัด

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ประชาชนทั่วไป

ระดับความร่วมมือ

ระดับประเทศ

ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

อ้างอิงการดำเนินงาน

https://mt.mahidol.ac.th/2019/09/05/sathira-dhammasathan/

https://mt.mahidol.ac.th/2019/09/05/healthy-journey-samparn/

4) เทคนิคการแพทย์ มหิดล รวมใจสร้างสุขภาวะดี วิถีเกษตรปลอดภัย

SDGs 3 GOOD HEALTH AND WELL-BEING

 

 

 

 

 


ชื่องานวิจัย : เทคนิคการแพทย์ มหิดล รวมใจสร้างสุขภาวะดี วิถีเกษตรปลอดภัย


คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ที่มาและความสำคัญ

เป็นการดำเนินการต่อเนื่องจากโครงการพัฒนาเกษตรปลอดภัย ในการส่งเสริมการเกษตรและอาหารปลอดภัย จากการติดตามผลการดำเนินงานจากต้นทาง โดยการส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาผลิตเกษตรและอาหารปลอดภัย จนถึงการส่งมอบอาหารปลอดภัยไปสู่ผู้บริโภคกลุ่มต่าง ๆ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยในโรงพยาบาล กลุ่มบุคลากรที่อยู่ในหน่วยงานของรัฐและเอกชน และกลุ่มผู้บริโภค ประชาชนทั่วไป ผ่านการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ช่องทางผ่านสื่อประชาสัมพันธ์และเวทีกิจกรรมต่าง ๆ ไปยังกลุ่มผู้บริโภค อันหมายถึงการสร้างความรู้ ความเข้าใจ และแนวคิดในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคที่เน้นการสร้างเสริมสุขภาพที่ดี รวมถึงการสร้างโอกาสในการขยายผลโครงการ เพื่อส่งต่อให้ประชาชนเกิดความเข้าใจในหน้าที่และบทบาทของคณะเทคนิคการแพทย์ เพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะที่ดี ทั้งสุขภาพ กาย ใจและสังคม แบบองค์รวม รวมถึงการสร้างความเชื่อมั่นในการบริโภคอาหารปลอดภัย โดยมีคณะเทคนิคการแพทย์ เป็นองค์กรหนึ่งที่มีส่วนร่วมและมีบทบาททางวิชาชีพในการการตรวจวิเคราะห์สถานะทางสุขภาพและตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการเพื่อการรับรองผลผลิตเกษตรปลอดภัย โดยเฉพาะสารตกค้างยาฆ่าแมลง โลหะหนัก จุลชีพและเชื้อก่อโรค

ขอบเขต/พื้นที่การศึกษา

ห้างสรรพสินค้า เซ็นทรัล สาขาศาลายา

วัตถุประสงค์

1)   เพื่อสนับสนุนการส่งเสริมการดูแลสุขภาพและการส่งต่อผลผลิตเกษตรปลอดภัย สู่กลุ่มผู้บริโภคประชาชนทั่วไป

2) เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจและแนวคิดในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค โดยการส่งเสริมและสร้างความเชื่อมั่นการบริโภคอาหารปลอดภัยเพื่อการดูแลสุขภาพของตนเองและสังคมโดยรวม

3)  เพื่อเป็นเวทีในการสื่อสารให้กลุ่มผู้บริโภคประชาชนทั่วไป ได้ทราบถึงหน้าที่และบทบาทวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ นอกเหนือจากการปฏิบัติหน้าที่ในห้องปฏิบัติการ รวมถึงเป็นการแสดงศักยภาพในการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อให้เกิดการขยายผลในวงกว้าง

4)  ประชาสัมพันธ์แนะนำแหล่งผลิต / จำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรปลอดภัย ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยโดยคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล

แหล่งทุนสนับสนุน

หน่วยงานที่ร่วมมือ

ห้างสรรพสินค้า เซ็นทรัล สาขาศาลายา

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

กลุ่มผู้บริโภคประชาชนทั่วไป

ระดับความร่วมมือ

ระดับประเทศ

ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

อ้างอิงการดำเนินงาน

https://mt.mahidol.ac.th/2019/09/04/mt-gap/


หน่วยงานของท่านมีนโยบายปลอดบุหรี่ (smoke-free policy) หรือไม่

1) นโยบายสถานศึกษาปลอดภัย และการร่วมกิจกรรมรณรงค์งดสูบบุหรี่

SDGs 3 GOOD HEALTH AND WELL-BEING

 

 

 

 

 

ชื่องานวิจัย : นโยบายสถานศึกษาปลอดภัย


คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ที่มาและความสำคัญ

คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของนักศึกษา บุคลากร ผู้มาปฏิบัติงาน ผู้มารับบริการ และสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัยที่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย จึงกำหนดนโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น

1) นโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
2) นโยบายด้านการส่งเสริมสุขภาพของคณะเทคนิคการแพทย์
3) นโยบายการบริหารความเสี่ยงคณะเทคนิคการแพทย์

โดยครอบคลุมกับลักษณะการดำเนินงานของคณะฯ รวมทั้งได้มีการสื่อสารให้บุคลากร นักศึกษาได้รับทราบและเข้าใจจุดมุ่งหมายของนโยบาย และมีการทบทวนนโยบายเป็นระยะ เพื่อปรับให้มีความเหมาะสมกับบริบทการดำเนินงาน

ขอบเขต/พื้นที่การศึกษา

มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

วัตถุประสงค์

เพื่อให้เกิดความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานภายในสถานศึกษา

แหล่งทุนสนับสนุน

หน่วยงานที่ร่วมมือ

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

1) นักศึกษา

2) บุคลากร

3) ผู้มาปฏิบัติงาน

4) ผู้มารับบริการ

ระดับความร่วมมือ

ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

อ้างอิงการดำเนินงาน

https://drive.google.com/drive/folders/1ZSCWUwyY7um5ejCqk1XwyNkyOHrVLnG1

http://mt2.mahidol.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=1658%3A-2562&catid=67%3Acultural-supporting-activities&Itemid=204&lang=th