Arts and heritage
หน่วยงานของท่านจัดให้มีการบริการห้องสมุดสาธารณะ รวมถึงหนังสือและผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ สำหรับประชาชนทั่วไปหรือไม่ ?
SDGs 4 QUALITY EDUCATION
ชื่องานวิจัย : ห้องสมุดวีกูล วีรานุวัตติ์ (ห้องสมุดคณะเทคนิคการแพทย์)
คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ที่มาและความสำคัญ
พ.ศ. 2500 ห้องสมุดวีกูล วีรานุวัตติ์ เป็นเพียงห้องอ่านหนังสือซึ่งเกิดมาพร้อมกับการจัดตั้ง “คณะเทคนิคการแพทย์” ในมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
พ.ศ.2530 คณะฯ ดำเนินการปรับปรุงห้องสมุดใหม่เพื่อเป็นเกียรติแด่ ศาสตราจารย์นายแพทย์วีกูล วีรานุวัตติ์ คณบดีคนแรกของคณะฯ ห้องสมุดจึงมีชื่อว่า ห้องสมุดวีกูล วีรานุวัตติ์ นับแต่นั้นเป็นต้นมา และเปิดให้บริการอยู่บริเวณชั้น 4 อาคารคณะเทคนิคการแพทย์ มีพื้นที่ 151 ตารางเมตร เท่านั้น
ต่อมาในปี พ.ศ.2546 ห้องสมุดได้ขยายพื้นที่ตามโครงการ “ห้องสมุดและศึกษาด้วยตนเอง” เพื่อรองรับความเติบโตของคณะ และจำนวนนักศึกษาที่เพิ่มขึ้นทุกปี มาตั้งอยู่ชั้น 2 อาคารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการแพทย์ มีพื้นที่ 500 ตารางเมตร และได้ปรับเปลี่ยนระบบการให้บริการจากระบบห้องสมุดอัตโนมัติ INNOPAC เป็น Millennium INNOPAC ซึ่งสืบค้นทรัพยากร ที่มีรูปแบบหลากหลายในระบบออนไลน์ผ่านเว็บไซต์หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล (www.li.mahidol.ac.th) ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่จำกัดเวลา และสถานที่
พ.ศ. 2550 คณะฯ มีนโยบายปรับเปลี่ยนการบริการของห้องสมุด 2 วิทยาเขต (บางกอกน้อย และศาลายา) โดยรวมงานบริการ ไว้ ณ จุดเดียว ที่ชั้น 2 ของอาคารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการแพทย์ ส่วนห้องสมุดวีกูล วีรานุวัตติ์ที่อยู่บริเวณชั้น 4 ตึกคณะเทคนิคการแพทย์ ให้บริการหนังสือและวารสารฉบับย้อนหลังแบบชั้นปิด
ปัจจุบันห้องสมุดมีการปรับปรุงภูมิทัศน์ มีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ครุภัณฑ์ที่ทันสมัย จัดเตรียมทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ให้บริการข้อมูล ข่าวสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศทางด้านเทคนิคการแพทย์ รังสีเทคนิค และวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการแพทย์ และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาห้องสมุดให้เป็นศูนย์สารสนเทศเพื่อการศึกษา ค้นคว้าวิจัย และการเรียนรู้ด้วยตนเอง ตลอดจนปรับปรุงให้บางส่วนเป็นสถานที่สำหรับพักผ่อนหย่อนใจ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสนับสนุนภารกิจของคณะเทคนิคการแพทย์ และมหาวิทยาลัยมหิดล
ขอบเขต/พื้นที่การศึกษา
อาคารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการแพทย์ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
วัตถุประสงค์
1) เพื่อให้บริการทางวิชาการแก่นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรของมหาวิทยาลัย เป็นศูนย์กลางการจัดหา จัดเก็บ เผยแพร่ และบริการทรัพยากรห้องสมุด ตำราภาษาไทยและต่างประเทศ ตลอดจนวัสดุสารนิเทศที่ทันสมัยให้มีปริมาณและคุณภาพเหมาะสมในการส่งเสริมการเรียนการสอนให้เป็นไปตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัยมหิดล
2) เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษา อาจารย์ ตลอดจนบุคลากรของมหาวิทยาลัย ได้ศึกษาหาความรู้ ค้นคว้าวิจัยด้วยตนเองได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น จัดหลักสูตรเกี่ยวกับการใช้ห้องสมุดแก่นักศึกษา ตลอดจนการแนะนำและจัดสัมมนา ฝึกอบรม เกี่ยวกับวิธีการค้นคว้าสารนิเทศที่ทันสมัยแก่ผู้ใช้อย่างสม่ำเสมอ
3) เพื่อพัฒนาและปรับปรุงสารนิเทศของคณะเทคนิคการแพทย์ให้มีประสิทธิภาพ รวบรวม ผลงานและสิ่งพิมพ์ทุกประเภทที่หน่วยงานและบุคลากรของคณะเทคนิคการแพทย์ผลิต รวมทั้งประวัติและจดหมายเหตุที่เกี่ยวข้องกับคณะเทคนิคการแพทย์
แหล่งทุนสนับสนุน
–
หน่วยงานที่ร่วมมือ
–
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
1) นักศึกษา
2) บุคลากร
3) บุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล
ระดับความร่วมมือ
–
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ
–
อ้างอิงการดำเนินงาน
https://mt.mahidol.ac.th/academic-programs/library/