สาขาเทคนิคการแพทย์ | สาขารังสีเทคนิค | |
---|---|---|
ชื่อปริญญา | วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคนิคการแพทย์) | วิทยาศาสตรบัณฑิต (รังสีเทคนิค) |
ระยะเวลาศึกษา | 4 ปี | |
ภาษาที่ใช้ | ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ | |
ระบบการจัดการศึกษา | ระบบทวิภาคตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรอุดมศึกษา และมีการจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน | |
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา |
ช่องทาง 1: – ผ่านการสอบคัดเลือกตามเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ช่องทาง 2: – ผ่านการสอบคัดเลือกตามเกณฑ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล(รับตรง) |
|
ข้อกำหนดในการจบการศึกษา | – ศึกษาครบหน่วยกิตตามโครงสร้างหลักสูตร(145เครดิต)
– ใช้เวลาศึกษาไม่ต่ากว่า 4 ปีการศึกษาแต่ไม่เกิน 8 ปีการศึกษา – ผลการศึกษาเฉลี่ยรวมต้องไม่น่้อยกว่า 2.00 – ผ่านเกณฑ์การประเมินความรู้ความสามารถทางภาษาอังกฤษตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด – ผ่านการสอบประมวลความรู้รวบยอดตามเกณฑ์ที่หลักสูตรกำหนด |
สาขาเทคนิคการแพทย์
Bachelor of Science in Medical Technology
The Bachelor of Science in Medical Technology degree is designed to educate and train graduates for careers in medical technology and heath-related sciences. Following an initial program of studies in basic science, the students will specialize in a wide variety of medical technology and health-related sciences areas, including, chemistry, bacteriology, immunology, mycology, virology, parasitology, hematology, microscopy, transfusion medicine, molecular biology, computing, histology. pharmacology, and forensic medicine.The degree is a four-year full-time program.
นักเทคนิคการแพทย์
คือ บุคคลซึ่งได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์จากสภาเทคนิคการแพทย์ และเป็นผู้ที่มีบทบาทในระบบการบริการทางสุขภาพ ดังต่อไปนี้
- การประเมินภาวะสุขภาพ และติดตามดูแลสุขภาวะที่ดีของประชาชน
- ค้นหาสาเหตุของโรค และการให้ข้อมูลเพื่อประกอบการวินิจฉัยโรคและภาวะผิดปกติในผู้ป่วย
- การบอกความรุนแรงของโรค
- สนับสนุนการรักษาโรค
- ชี้แนะแนวทางการรักษา
- การป้องกันการแพร่กระจายของโรค
- การป้องกันการเกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนรุนแรง
๑. ชื่อหลักสูตร
(ภาษาไทย) วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์
(ภาษาอังกฤษ) Bachelor of Science Program in Medical Technology
๒. ชื่อปริญญา
ชื่อภาษาไทย:-
ชื่อเต็ม : วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคนิคการแพทย์)
ชื่อย่อ : วท.บ. (เทคนิคการแพทย์)
ชื่อภาษาอังกฤษ:-
ชื่อเต็ม : Bachelor of Science (Medical Technology)
ชื่อย่อ : B.Sc. (Med. Tech.)
๓. วิชาเอก
ไม่มี
๔. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
๔.๑ หลักสูตรปกติ จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร ๑๔๒ หน่วยกิต
๔.๒ โครงการพิสิฐวิธาน จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร ๑๔๔ หน่วยกิต
โครงการพิสิฐวิธานเป็นการจัดรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นความเข้มแข็งทางวิชาการและการวิจัยเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนนักศึกษาที่มีศักยภาพสูง และสนใจศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา (ปริญญาโทและปริญญาเอก) โดยคัดเลือกนักศึกษาในหลักสูตรปกติที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ ๓ เข้าศึกษาในโครงการ ซึ่งระหว่างที่ศึกษาระดับปริญญาตรี นักศึกษาจะเรียนรายวิชาที่อยู่ในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาแทนรายวิชาที่เทียบเคียงกันกับรายวิชาในระดับปริญญาตรี ทำให้สามารถลดระยะเวลาในการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาลงได้ ๑-๒ ปี
๕. ภาษาที่ใช้
ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
๖. ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
๖.๑ ปรัชญาของหลักสูตร
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคนิคการแพทย์) มุ่งหวังจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษา สามารถปฏิบัติงานในด้านเทคนิคการแพทย์ เพื่อการตรวจวินิจฉัย ติดตามผลการรักษา ป้องกันโรค และส่งเสริมสุขภาวะชุมชน ได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ และสามารถนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการแพทย์ไปประยุกต์ใช้ในกระบวนการวิจัยเพื่อการพัฒนาให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม ตลอดจนเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม และมีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ
๖.๒ วัตถุประสงค์ของหลักสูตรเทคนิคการแพทย์ เพื่อให้ได้บัณฑิตซึ่ง
๖.๒.๑ สามารถทำการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการเวชศาสตร์ชันสูตรในสาขาต่างๆ ของ วิชาชีพเทคนิคการแพทย์เพื่อสนับสนุนการวินิจฉัย การรักษา การป้องกัน การควบคุมโรค และการส่งเสริมสุขภาวะชุมชน
๖.๒.๒ สามารถบริหารจัดการงานทางห้องปฏิบัติการเวชศาสตร์ชันสูตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ และได้มาตรฐาน ตลอดจนประสานงานกับหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้เป็นอย่างดี
๖.๒.๓ เป็นนักเทคนิคการแพทย์ที่มีคุณธรรมและจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพและมีเจตคติ ที่ดีต่อวิชาชีพ
๖.๒.๔ มีความรู้พื้นฐานเพื่อการศึกษาต่อในวิชาชีพในระดับที่สูงขึ้น หรือสาขาอื่นๆ ซึ่งสัมพันธ์ กับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการแพทย์
๖.๒.๕ มีความรู้พื้นฐานและสามารถใช้เทคนิคต่างๆทางห้องปฏิบัติการเพื่องานทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และงานวิจัย ตลอดจนสามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงของวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี และประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
๖.๓ วัตถุประสงค์ของโครงการพิสิฐวิธาน
นอกเหนือจากวัตถุประสงค์ตามข้อ ๖.๒ แล้ว โครงการพิสิฐวิธานยังมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
๖.๓.๑ จัดการศึกษาสำหรับนักศึกษาที่มีศักยภาพสูง เพื่อมุ่งเข้าสู่การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา (ปริญญาโท หรือปริญญาเอก)สาขาเทคนิคการแพทย์
๖.๓.๒ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของการเรียนรู้ให้แก่นักศึกษาที่มีความสามารถโดดเด่น
๗. ระบบการจัดการศึกษา
๗.๑ ระบบ
เป็นระบบทวิภาค ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา
๗.๒ การจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน
มีการจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน
๗.๓ การเทียบเคียงหน่วยกิตในระบบทวิภาค
ไม่มี
๘. การดำเนินการหลักสูตร
๘.๑ วัน – เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
ตามที่แต่ละรายวิชากำหนดในแต่ละภาคการศึกษาตามความจำเป็นและเหมาะสม
๘.๒ คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
๘.๒.๑ หลักสูตรปกติ เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ ๖ (ม.๖) หรือเทียบเท่าในสายวิทยาศาสตร์
๘.๒.๒ โครงการพิสิฐวิธาน
(๑) เป็นนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
(๒) ได้ลงทะเบียนเรียนรายวิชาที่เข้าศึกษาตามหลักสูตรปกติที่กำหนดไว้ในชั้นปีที่ ๑ และ ๒ ครบถ้วนทุกรายวิชา
(๓) มีคะแนนเฉลี่ยสะสมเมื่อสิ้นภาคการศึกษาปลาย ชั้นปีที่ ๒ ไม่ต่ำกว่า ๓.๒๕ และ/หรือ มีคุณสมบัติอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนดขึ้นในแต่ละปีการศึกษา
๙. รายวิชาในหลักสูตร
ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า |
๓๐ |
– กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ |
๑๓ |
– กลุ่มวิชาภาษา |
๙ |
– กลุ่มวิขาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ |
๖ |
– กลุ่มวิชาสุขภาพและนันทนาการ | ไม่น้อยกว่า ๒ |
ข. หมวดวิชาเฉพาะ |
๑๐๖ |
– วิชาพื้นฐาน |
๓๙ |
– วิชาชีพ |
๖๓ |
– โครงการพิสิฐวิธาน |
|
– วิชาเสริมสร้างศักยภาพพิเศษ |
๔ |
ค. หมวดวิชาเลือกเสรีไม่น้อยกว่า |
๖ |
สาขาวิชารังสีเทคนิค
Bachelor of Science in Radiological Technology
The Bachelor of Science in Radiological Technology degree is designed to educate and train graduates for careers in radiological technology and health- related sciences. After two years of studying in basic science, the students will be offered a range of subjects in radiological technology, including, radiographic (anatomy, pathology, positioning), radiobiology, radiotherapy, medical imaging and nuclear medicine.The degree is a four-year full-time program.
นักรังสีเทคนิค
คือ บุคคลซึ่งได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขารังสีเทคนิค และเป็นผู้ที่มีบทบาทในระบบการบริการทางสุขภาพ ดังต่อไปนี้
- การให้บริการทางรังสีวินิจฉัย
- การให้บริการทางรังสีรักษา
- การให้บริหารทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์
๑. ชื่อหลักสูตร
(ภาษาไทย) วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารังสีเทคนิค
(ภาษาอังกฤษ) Bachelor of Science Program in Radiological Technology
๒. ชื่อปริญญา
ชื่อภาษาไทย:-
ชื่อเต็ม : วิทยาศาสตรบัณฑิต (รังสีเทคนิค)
ชื่อย่อ : วท.บ. (รังสีเทคนิค)
ชื่อภาษาอังกฤษ:-
ชื่อเต็ม : Bachelor of Science (Radiological Technology)
ชื่อย่อ : B.Sc. (Radiological Technology)
๓. วิชาเอก
ไม่มี
๔. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
๑๔๕ หน่วยกิต
๕. ภาษาที่ใช้
ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
๖. ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
๖.๑ มีความเชื่อว่าหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารังสีเทคนิค คณะเทคนิคการแพทย์ ซึ่งเป็นสาขาวิชาที่มุ่งเน้นการจัดการเรียนการสอนบนแนวคิดที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (student-centered learning) ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง สร้างบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพควบคู่กับการมีเจตคติอันดีงาม ตลอดจนมีคุณธรรมจริยธรรม โดยคานึงถึงประโยชน์ของส่วนรวมเป็นที่ตั้ง
๖.๒ วัตถุประสงค์ของหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารังสีเทคนิค มุ่งเน้นที่จะผลิตบัณฑิตที่มีความฉลาด ความรอบรู้ และความเชี่ยวชาญเชิงวิชาชีพ (Strong in Practice, Smart in Profession) สามารถปฏิบัติงานทางรังสีวินิจฉัย เวชศาสตร์นิวเคลียร์ และรังสีรักษาได้ตามมาตรฐานวิชาชีพ ควบคู่กับการใช้ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการประมวลผลภาพทางการแพทย์ได้อย่างมีประสิทธิผล ตลอดจนมีเจตคติที่ดี มีคุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพ
๗. ระบบการจัดการศึกษา
๗.๑ ระบบ เป็นระบบทวิภาค ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา
๗.๒ การจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน มีการจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน
๗.๓ การเทียบเคียงหน่วยกิตในระบบทวิภาค
๗.๓.๑ รายวิชาภาคทฤษฎี ที่ใช้เวลาบรรยายหรืออภิปรายปัญ หาไม่น้อยกว่า ๑๕ ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ และศึกษาด้วยตนเองไม่น้อยกว่า ๓๐ ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ ๑ หน่วยกิต ระบบทวิภาค
๗.๓.๒ รายวิชาภาคปฏิบัติ ที่ใช้เวลาฝึกหรือทดลองไม่น้อยกว่า ๓๐ ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ และศึกษาด้วยตนเองไม่น้อยกว่า ๑๕ ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ ๑ หน่วยกิตระบบทวิภาค
๗.๓.๓ การฝึกงานหรือการฝึกภาคสนาม ที่ใช้เวลาฝึกไม่น้อยกว่า ๔๕ ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ และศึกษาด้วยตนเองไม่น้อยกว่า ๑๕ ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ ๑ หน่วยกิตระบบทวิภาค
๗.๓.๔ ภาคนิพนธ์ ที่ใช้เวลาทาภาคนิพนธ์ไม่น้อยกว่า ๔๕ ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ และศึกษาด้วยตนเองไม่น้อยกว่า ๑๕ ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ ๑ หน่วยกิตระบบทวิภาค
๘. การดำเนินการหลักสูตร
๘.๑ วัน – เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
ตามที่แต่ละรายวิชากำหนดในแต่ละภาคการศึกษาตามความจำเป็นและเหมาะสม
๘.๒ คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
๘.๒.๑ เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษา ชั้นปีที่ ๖ (ม.๖) หรือเทียบเท่า ในสายวิทยาศาสตร์
๘.๒.๒ ผ่านการสอบคัดเลือกตามเกณฑ์ของ สกอ. หรือผ่านการสอบคัดเลือกตามเกณฑ์ของมหาวิทยาลัย
๙. รายวิชาในหลักสูตร
ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า |
๓๐ |
– กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ |
๑๑ |
– กลุ่มวิชาภาษา |
๙ |
– กลุ่มวิขาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ |
๘ |
– กลุมวิชาสุขภาพและนันทนาการ | ไม่น้อยกว่า ๒ |
ข. หมวดวิชาเฉพาะ |
๑๐๙ |
– วิชาพื้นฐาน |
๓๓ |
– วิชาชีพ |
๗๖ |
ค. หมวดวิชาเลือกเสรีไม่น้อยกว่า |
๖ |
ติดต่อข้อมูลเพิ่มเติม
ดร.เลิศยศ ตรีรัตนไพบูลย์
โทร. 02-441-4371-9 ต่อ 2842, 2843 โทรสาร 02-441-4380
E-mail :lertyot.tre@mahidol.ac.th