๑. ชื่อหลักสูตร
(ภาษาไทย) วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์
(ภาษาอังกฤษ) Bachelor of Science Program in Medical Technology
๒. ชื่อปริญญา
ชื่อภาษาไทย:-
ชื่อเต็ม : วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคนิคการแพทย์)
ชื่อย่อ : วท.บ. (เทคนิคการแพทย์)
ชื่อภาษาอังกฤษ:-
ชื่อเต็ม : Bachelor of Science (Medical Technology)
ชื่อย่อ : B.Sc. (Med. Tech.)
๓. โครงการพิสิฐวิธาน
โครงการพิสิฐวิธาน เป็นโครงการที่จัดขึ้นเพื่อรองรับศักยภาพของผู้มีความสามารถพิเศษที่จัดให้นักศึกษาได้ศึกษารายวิชาที่ก้าวหน้ากว่าที่มีการเรียนการสอนในหลักสูตรปกติ ลักษณะเด่นของโครงการ คือ เน้นความเข้มแข็งทางวิชาการและการวิจัยเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนนักศึกษาที่มีศักยภาพสูง มีผลการเรียนดีเด่น (คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๒๕) และสนใจศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา (ปริญญาโทและปริญญาเอก สาขาเทคนิคการแพทย์) โดยในระหว่างที่ศึกษาระดับปริญญาตรี เมื่อขึ้นชั้นปีที่ ๓ นักศึกษาจะได้เรียนรายวิชาที่อยู่ในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาแทนรายวิชาที่เทียบเคียงกันกับรายวิชาในระดับปริญญาตรีภายใต้คำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษาและ/หรืออาจารย์ประจำหลักสูตร และนำผลการเรียนไปใช้ในการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา ทำให้สามารถย่นระยะเวลาในการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาลงได้ ๑-๒ ปี
๔. คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ๋เข้าศึกษาตามโครงการพิสิฐวิธาน โครงการพิสิฐวิธาน เป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับนักศึกษาที่มีศักยภาพสูงและมีผลการเรียนดีเด่น โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาต่อทางด้านนี้ต่อไป ดังนั้น ผู้ที่มีสิทธิ์เข้าศึกษาต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
๔.๑ เป็นผู้ที่ศึกษาตามหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ (หลักสูตรปกติ)
๔.๒ กำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ ๒
๔.๓ มีผลคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๒๕ หลังจากเรียนจบชั้นปีที่ ๒
๕. วิธีการคัดเลือกนักศึกษาเข้าร่วมโครงการ
คณะกรรมการที่คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล แต่งตั้งขึ้น เป็นผู้พิจารณาคัดเลือกนักศึกษาเข้าร่วมโครงการโดยมีเกณฑ์และวิธีการ ดังนี้
๑. มีคุณสมบัติตามที่คณะฯ กำหนดตามข้อ ๔
๒. เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ตามที่คณะฯ กำหนด
๓. สอบสัมภาษณ์ หรือวิธีการอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร
๖. การเรียนการสอน
๖.๑ ศึกษารายวิชาต่างๆ ที่ระบุไว้ในหลักสูตรระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ ยกเว้นบางรายวิชาที่กำหนดให้ศึกษารายวิชาที่เปิดสอนในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาเพื่อเทียบเคียงกับรายวิชาในหลักสูตรระดับปริญญาตรี โดยมีจำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า ๑๔๔ หน่วยกิต
๖.๒ การเทียบเคียงรายวิชา
หมวดวิชา | หลักสูตรปกติ | โครงการพิสิฐวิธาน | |||
รายวิชา | หน่วยกิต | รายวิชา | หน่วยกิต | ||
วิชาเฉพาะ | ทนคร ๔๐๑ MTID 401 วารสารสโมสร Jounal Club |
๑(๑-๐-๒) | ทนคร ๖๐๒ MTID 602 สัมมนา Seminar |
๒(๒-๐-๔) | |
รายวิชาที่เกี่ยวข้องกับการทำวิจัย ๓ หน่วยกิต | รายวิชาที่เกี่ยวข้องกับการทำวิจัย ๓ หน่วยกิต | ||||
ทนคร ๓๐๗ MTID 307 ระเบียบวิธีวิจัยขั้นพื้นฐาน Fundamental of Research Methodology |
๑(๑-๐-๒) | ทนคร ๖๐๕ MTID 605 ระเบียบวิธีวิทยาการวิจัย Research Methodology |
๓(๒-๒-๕) | ||
ทนคร ๔๙๐ MTID 490 ภาคนิพนธ์สาขาเทคนิคการแพทย์ Term Paper in Medical Technology |
๒(๐-๔-๒) | กำหนดให้นักศึกษาค้นคว้าและฝึกหัดเขียนโครงร่างงานวิจัย ที่สามารถใช้เป็นแนวทางในการทำวิทยานิพนธ์ในระดับ บัณฑิตศึกษาได้พร้อมทั้งทำวิจัยเบื้องต้น |
|||
ทนคร ๔๐๓ MTID 403 การบริหารห้องปฏิบัติการ Laboratory Administration |
๑(๑-๐-๒) | ทนคร ๖๐๑ MTID 601 การบริหารห้องปฏิบัติการทางคลินิก Clinical Laboratory Administration |
๒(๑-๒-๓) | ||
วิชาเลือกเสรี | ศึกษารายวิชาในหมวดวิชาเลือกเสรี | ๖ | สามารถศึกษารายวิชาเลือกที่เปิดสอนในระดับบัณฑิตศึกษา | ๖ |
๖.๓ เงื่อนไขการเข้าร่วมโครงการพิสิฐวิธาน
(๑) ผู้เข้าร่วมโครงการพิสิฐวิธานจะต้องรักษาระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมให้ได้ไม่ต่ำกว่า ๓.๒๕ มิฉะนั้นจะถูกเปลี่ยนสถานภาพเป็นนักศึกษาหลัก สูตรปกติ
(๒) รายวิชาที่เกี่ยวข้องกับการทำวิจัย ต้องมีผลการศึกษา ไม่ต่ำกว่า B และเขียนโครงร่างงานวิจัยหรือแนวทางในการทำวิทยานิพนธ์ในระดับบัณฑิตศึกษา
๖.๔ การสำเร็จการศึกษา นักศึกษาที่ผ่านโครงการนี้และได้ผลสอบ “ผ่าน” ในรายวิชาต่างๆ ครบตามหลักสูตรระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ ดังรายละเอียดที่กำหนดในข้อ ๗ จะได้รับอนุมัติให้รับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคนิคการแพทย์)
๖.๕ การเข้าศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา
นักศึกษาที่ได้รับอนุมัติให้รับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคนิคการแพทย์) และผ่านได้เกรดของรายวิชาที่ศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาไม่ต่ำกว่า “B” จะได้รับการพิจารณาให้เข้าศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา (ปริญญาโท หรือ ปริญญาเอก ตามความสามารถของนักศึกษา) ของคณะเทคนิคการแพทย์ โดยได้รับการเทียบโอนหน่วยกิตในรายวิชาที่ได้เรียนผ่านมาแล้ว และศึกษารายวิชาเพิ่มเติมให้ครบตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรระดับปริญญาโท หรือปริญญาเอก และต่อยอดงานวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์ที่ได้เริ่มทำมาแล้วบางส่วนตามข้อ ๑.๒.๒ ซึ่งระบุในตารางการเทียบเคียงรายวิชา
๖.๖ จำนวนรับ
ประมาณปีละ ๓-๕ คน
๖.๗ ทุนการศึกษา
ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับทุนการศึกษาตั้งแต่เริ่มเข้าโครงการจนกระทั่งสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะเทคนิคการแพทย์ และได้รับทุน “สร้างเสริมนักเทคนิคการแพทย์-นักวิจัยระดับปริญญาโท-เอก ของคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล” เมื่อเข้าสู่หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา (ปริญญาโท หรือ ปริญญาเอก) สาขาเทคนิคการแพทย์ ของคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ทั้งนี้ หากนักศึกษาไม่สามารถรักษาระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไว้ได้ตามเงื่อนไขที่กำหนด เป็นเหตุให้ต้องเปลี่ยนสถานภาพเป็นนักศึกษาหลักสูตรปกติ คณะจะระงับการให้ทุนทันที
๗. เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
๗.๑ นักศึกษาต้องมีเวลาศึกษาตามหลักสูตรไม่น้อยกว่า ๔ ปีการศึกษา หรือ ๘ ภาคการศึกษา และไม่เกิน ๘ ปีการศึกษา หรือ ๑๖ ภาคการศึกษา
๗.๒ ต้องศึกษารายวิชาต่างๆ ในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป หมวดวิชาเฉพาะ และหมวดวิชาเลือกเสรีให้ครบถ้วนตามที่กำหนดในโครงสร้างหลักสูตร โดยต้องมีหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า ๑๔๔ หน่วยกิต มีคะแนนเฉลี่ยสะสม ไม่น้อยกว่า ๓.๒๕ และเขียนโครงร่างงานวิจัยหรือแนวทางในการทำวิทยานิพนธ์ในระดับบัณฑิตศึกษา โดยรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับการทำวิจัย ต้องสอบได้เกรดไม่ต่ำกว่า B และในระหว่างที่ศึกษาตามโครงการพิสิฐวิธาน นักศึกษาจะต้องรักษาระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมให้ได้ไม่ต่ำกว่า ๓.๒๕ มิฉะนั้นจะถูกเปลี่ยนสถานภาพเป็นนักศึกษาหลักสูตรปกติ
รายละเอียดกิจกรรมที่ผ่านมา
ติดต่อข้อมูลเพิ่มเติม
ดร.เลิศยศ ตรีรัตนไพบูลย์
โทร. 02-441-4371-9 ต่อ 2842, 2843 โทรสาร 02-441-4380
E-mail :lertyot.tre@mahidol.ac.th