Relationships with NGOs, Regional and National Government ความร่วมมือองค์กรอิสระ หน่วยงานรัฐระดับภูมิภาคและระดับประเทศ


หน่วยงานของท่านมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง/ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ ในการกำหนดนโยบายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศหรือไม่ เช่น การให้ข้อมูลปัญหาอุปสรรคและความท้าทายในการกำหนดนโยบาย ร่วมพัฒนายุทธศาสตร์และนโยบาย การคาดการณ์ผลการดำเนินงานกรณีที่มีและไม่มีนโยบาย ติดตามและการรายงานผลการดำเนินการตามนโยบาย และสนับสนุนแผนการรับมือ

1) โครงการ Green Army, Green Farmer เพื่อประเทศชาติและประชาชน

SDGs 17 PARTNERSHIPS FOR THE GOALS

 

 

 

 

 

ชื่องานวิจัย : โครงการ Green Army, Green Farmer เพื่อประเทศชาติและประชาชน


คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ที่มาและความสำคัญ

เป็นโครงการที่ริเริ่มจากคำปรารภของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ต่อคณบดีคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล (ศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรเฉลิม อิศรางกูร ณ อยุธยา) ในโอกาสนำเสนอผลสัมฤทธิ์ของโครงการพัฒนาเขตเกษตรและอาหารปลอดภัย 8 จังหวัดภาคกลางตอนล่างและภาคตะวันตก ที่จังหวัดนครปฐม เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561 ภายใต้โครงการพัฒนาเกษตรปลอดภัย คณะเทคนิคการแพทย์ ปีงบประมาณ 2561 โดยนายกรัฐมนตรีได้ปรารภถึงการขยายขอบเขตการดำเนินงานเป็นล้านไร่ทั่วประเทศ เพื่อให้สอดรับกับนโยบายรัฐบาลในการส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่ การพัฒนาเกษตรอินทรีย์และเกษตรกรรมยั่งยืน 5 ล้านไร่ การยกระดับสุขภาพและคุณภาพชีวิตให้แก่ประชาชน ตลอดจนนำไปสู่การสร้างความเข้มแข็งชุมชน การกระจายรายได้ และการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน

จากดำริและคำปรารภของท่านนายกรัฐมนตรี ส่งผลให้เกิดการประชุมปรึกษาหารือร่วมต่อเนื่องจากหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน จึงนำมาซึ่งการนำเสนอโครงการ Green Army, Green Farmer เพื่อประเทศชาติและประชาชน โดยมีกรอบแนวคิดที่สำคัญ คือ การบูรณาการความร่วมมือด้านเกษตรและอาหารปลอดภัยเพื่อส่งเสริมนโยบายรัฐบาลโดยใช้พื้นที่ทหารเป็นฐาน โดยพื้นที่ต้นแบบของโครงการนี้จะเริ่มดำเนินการในพื้นที่ของมณฑลทหารบกที่ 17 จังหวัดกาญจนบุรี (นำโดย พล.ต.วสุ เจียมสุข ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 17) ก่อนการขยายผลไปยังพื้นที่อื่น ๆ ทั่วประเทศในอนาคต เนื่องจาก มีจุดเด่นหลายประการซึ่งจะนำไปสู่ปัจจัยแห่งความสำเร็จของโครงการ

ขอบเขต/พื้นที่การศึกษา

มณฑลทหารบกที่ 17 ค่ายสุรสีห์ ตำบลลาดหญ้า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี

วัตถุประสงค์

1) พื้นที่ทหารเป็นพื้นที่ที่สามารถจำกัดขอบเขตการดูแลได้ง่าย รวมทั้งห่างไกลหรือไม่ถูกล้อมรอบด้วยแปลงเกษตรที่ใช้สารเคมี ทำให้การผลิตเกษตรปลอดภัยหรือเกษตรอินทรีย์ สามารถบรรลุผลได้อย่างเป็นรูปธรรมโดยง่าย ซึ่งในช่วงแรกสามารถมุ่งเป้าการพัฒนาในลักษณะเกษตรปลอดภัยก่อน เนื่องจาก เกษตรปลอดภัยสามารถเปิดกว้างและให้โอกาสเกษตรกรที่มีความมุ่งมั่นในการปรับเปลี่ยนวิถีการผลิตจากเกษตรใช้สารเคมีไปสู่การลด ละ เลิกการใช้สารเคมี เพื่อการผลิตผลผลิตที่มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค และสามารถได้รับการรับรองคุณภาพผลผลิตเพื่อให้สามารถจำหน่ายและสร้างรายได้เลี้ยงครอบครัวไปได้ก่อน หลังจากนั้น ค่อยขยายผลไปสู่เกษตรอินทรีย์หรือเกษตรยั่งยืนตามมาตรฐานการรับรองต่าง ๆ ได้ในอนาคต

2) การเปิดพื้นที่ทหารเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรเข้าร่วมพัฒนาพื้นที่ในการผลิตเกษตรปลอดภัยหรือเกษตรอินทรีย์ จะสนองตอบต่อนโยบายรัฐบาลในการสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนและเศรษฐกิจฐานราก รวมถึงช่วยแก้ปัญหาการไม่มีสิทธิครอบครองหรือกรรมสิทธิ์ในที่ดินทำกิน ซึ่งจะทำให้นโยบายการส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่และเกษตรกรรมยั่งยืนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

3) หน่วยงานทหารมีศักยภาพเชิงพื้นที่ ทั้งเรื่องของความพร้อมของกำลังพล อุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ ที่จะช่วยทำให้การพัฒนาพื้นที่และแหล่งน้ำ (ซึ่งเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญ) เพื่อส่งเสริมเกษตรปลอดภัยหรือเกษตรอินทรีย์ให้เกิดขึ้นได้โดยเร็ว

4) สามารถขยายผลการเป็นพื้นที่ศึกษาเรียนรู้ และแหล่งดูงานด้านวิถีเกษตรปลอดภัยแบบครบวงจร ซึ่งต่อยอดจากโครงการเกษตรพอเพียงตามศาสตร์พระราชาของทางมณฑลทหารบกที่ 17 ที่มีอยู่เดิม ให้แก่หน่วยทหารในพื้นที่ต่าง ๆ รวมถึงประชาชน และเกษตรกรผู้สนใจได้นำไปปรับใช้เพื่อร่วมกันขยายผลทั่วทั้งประเทศโดยการดำเนินงานในพื้นที่มณฑลทหารบกที่ 17 จะเป็นการบูรณาการร่วมกับหลายภาคส่วน ซึ่งในเบื้องต้น ภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ภาควิชาการ (มหาวิทยาลัยมหิดล โดยคณะเทคนิคการแพทย์ และเครือข่ายสถาบันวิชาการอื่น ๆ ภายนอก) หน่วยงานภาครัฐ-รัฐวิสาหกิจจากส่วนกลางและส่วนราชการในจังหวัดกาญจนบุรี (อาทิ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเกษตรจังหวัดกาญจนบุรี กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) องค์การตลาด กระทรวงมหาดไทย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ และโรงพยาบาลค่ายสุรสีห์) ภาคเอกชน (อาทิ บริษัท อีสต์เวสต์ซีด จำกัด บริษัท พีเค ดับบลิว จำกัด บริษัท ประชารัฐรักสามัคคีประเทศไทย จำกัด) ตลอดจนเกษตรกรและประชาชนในพื้นที่ เพื่อเป็นต้นแบบในการส่งเสริมการผลิตเกษตรและอาหารปลอดภัยแบบครบวงจรตามห่วงโซ่คุณค่า (Value chain) ในพื้นที่ที่หน่วยทหารดูแลรับผิดชอบ ตั้งแต่ต้นทาง คือ การพัฒนาแปลงเกษตร วัตถุดิบ และกระบวนการผลิตที่เหมาะสม กลางทาง คือ การตรวจวิเคราะห์รับรองผลผลิตที่มีคุณภาพตั้งแต่แปลงปลูกจนถึงผลผลิตที่จะเข้าสู่กระบวนการคัดแยกบรรจุ หรือการแปรรูป ปลายทาง คือ การส่งเสริมการตลาด และการส่งมอบผลผลิตเกษตรปลอดภัยไปสู่ผู้บริโภคในกลุ่มต่าง ๆ อาทิ ผู้ป่วยในโรงพยาบาล นักเรียน ตลอดจนประชาชนโดยทั่วไป ผ่านระบบโลจิสติกส์ไปสู่โรงพยาบาล โรงเรียน ตลาดประชารัฐในรูปแบบต่าง ๆ และโมเดิร์นเทรด โดยภายใต้โครงการจะมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการติดตามประมวลผล และเทคโนโลยีส่งเสริมการผลิตที่เหมาะสม ควบคู่กับการใช้ข้อมูลทางสุขภาพในการปรับเปลี่ยนทัศนคติและรูปแบบการผลิตเกษตรที่ปลอดภัยต่อผู้ผลิต และผู้บริโภค อันจะนำไปสู่แนวทางการดำเนินการที่มีความยั่งยืนในระยะยาว

แหล่งทุนสนับสนุน

หน่วยงานที่ร่วมมือ

ภาควิชาการ (มหาวิทยาลัยมหิดล โดยคณะเทคนิคการแพทย์ และเครือข่ายสถาบันวิชาการอื่นๆ ภายนอก) หน่วยงานภาครัฐ/รัฐวิสาหกิจจากส่วนกลางและส่วนราชการในจังหวัดกาญจนบุรี (อาทิ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเกษตรจังหวัดกาญจนบุรี กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) องค์การตลาด กระทรวงมหาดไทย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ และโรงพยาบาลค่ายสุรสีห์) ภาคเอกชน (อาทิ บริษัท อีสต์เวสต์ซีด จำกัด บริษัท พีเค ดับบลิว จำกัด บริษัท ประชารัฐรักสามัคคีประเทศไทย จำกัด)

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

เกษตรกร ผู้ป่วยในโรงพยาบาล นักเรียน ตลอดจนประชาชนโดยทั่วไป

ระดับความร่วมมือ

ระดับประเทศ

ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

อ้างอิงการดำเนินงาน

https://mt.mahidol.ac.th/2018/11/21/3736/

2) การจัดตั้ง Platform งานวิจัยสู่ผลิตภัณฑ์ครบวงจร

SDGs 17 PARTNERSHIPS FOR THE GOALS

 

 

 

 

 

ชื่องานวิจัย : การจัดตั้ง Platform งานวิจัยสู่ผลิตภัณฑ์ครบวงจร


คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ที่มาและความสำคัญ

ประเทศไทยมีพระราชบัญญัติการควบคุมเครื่องมือแพทย์ ฉบับปี 2531 ปี 2551 จนกระทั่งมาปี 2562 ซึ่งเป็นฉบับแก้ไขในปัจจุบัน โดยทั้ง 3 ฉบับ เดิมให้ความสำคัญกับเรื่องของความปลอดภัยของคนไข้ ผู้บริโภค และผู้ใช้งาน จึงมุ่งเน้นที่การควบคุม กำกับ ดูแล และอนุญาตมาโดยตลอด แต่ไม่มีเรื่องของการส่งเสริมสนับสนุนให้มีการผลิตผลิตภัณฑ์รองรับอุตสาหกรรมทางการแพทย์ขึ้นมา

จากการที่ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ ปี 2562 ศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรเฉลิม อิศรางกูร ณ อยุธยา ได้มีโอกาสร่วมกับกรรมาธิการท่านอื่นๆ เสนอแนะจนกระทั่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ผ่าน พรบ. ที่มีการเติมความไปว่า “กระบวนการพิจารณาอนุญาตเครื่องมือแพทย์ ต้องให้ความสำคัญด้านการส่งเสริมการผลิตเครื่องมือแพทย์ในประเทศด้วย” ควบคู่กับการจัดตั้ง Medical Products Consortium of Thailand (MPCT) โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ร่วมกับ 26 องค์กรหลักของประเทศ ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญมากที่ทำให้เกิดมาตรการในการส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์เพื่อลดการขาดดุลทางการค้า จากที่ผ่านมาประเทศไทยต้องนำเข้าจากต่างประเทศในจำนวนเม็ดเงินที่มหาศาล ในอดีตมักพบว่านักวิจัยส่วนใหญ่ทำงานวิจัยจากโจทย์วิจัยที่ตัวเองสนใจ โดยผลการวิจัยจะหยุดอยู่แค่เรื่องของการได้รับการตีพิมพ์แต่เราทำอย่างนั้นไม่ได้ในโลกปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เราจำเป็นต้องพัฒนางานวิจัยโดยพิจารณาถึงความต้องการของลูกค้าและตลาดด้วย โดยการผลักดันสู่กระบวนการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานได้จริง คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้ริเริ่มจัดตั้ง Platform งานวิจัยสู่นวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ครบวงจร ตั้งแต่ต้นทาง คือการใช้โจทย์ความต้องการของประเทศในการวางแผนร่วมกับนักวิจัยในการวิจัยและพัฒนา กลางทาง คือ การต่อยอดองค์ความรู้สู่กระบวนการผลิตชิ้นงานผ่านโครงการจัดตั้งโรงงานต้นแบบเพื่อการพัฒนาชุดทดสอบน้ำยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ สำหรับคณาจารย์และนักวิจัยภายในคณะฯ หรือหน่วยงานอื่น ๆ ที่สนใจร่วมมือ และปลายทาง คือ การส่งเสริมการใช้ประโยชน์ในมิติต่าง ๆ ผ่านบริษัท เอ็มที อินโนเทร็กซ์ จำกัด (ถือหุ้น 100% โดยคณะฯ) โดยมีช่องทางการให้คำปรึกษาด้านการผลิต การตลาด ตลอดจนช่องทางติดต่อกับภาคอุตสาหกรรมและจับคู่ทางธุรกิจที่เหมาะสมก่อนนำออกจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ เพื่อลดการนำเข้าจากต่างประเทศ รวมทั้งยังเป็นตัวกลางในการรักษาและดูแลผลประโยชน์ทางการตลาดให้แก่ผลิตภัณฑ์ หรืองานบริการที่เกิดจากการวิจัยและพัฒนาให้สามารถแข่งขันในตลาดได้จริง โดยผลิตภัณฑ์แรก คือ ชุดทดสอบการติดเชื้อฉี่หนูชนิดรวดเร็ว (Lep M-Plus และ Lep G-Plus) ซึ่งมีการใช้ที่ง่ายและทราบผลเร็วคล้ายชุดตรวจการตั้งครรภ์ จะมีความร่วมมือกับ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้มีการขยายผลสู่การใช้ตรวจโรคฉี่หนูในระดับประเทศต่อไป ผลิตภัณฑ์ชิ้นที่ 2 คือ ชุดทดสอบการปนเปื้อนของโปรตีนในพื้นผิวต่างๆ (Y-Blue Kit) ซึ่งจะเป็นทางเลือกสำหรับการใช้ทดสอบประสิทธิภาพการชำระล้างพื้นผิวในภาคการผลิตอุตสาหกรรมอาหารของประเทศ จากเดิมที่ต้องนำเข้าจากประเทศสหรัฐอเมริกาในราคาที่ค่อนข้างแพงและผลิตภัณฑ์ชิ้นที่ 3 คือ ชุดทดสอบสารตกค้างยาฆ่าแมลงในผักผลไม้ ซึ่งจะจับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นอุตสาหกรรมอาหาร ผู้ประกอบการและกลุ่มผู้บริโภคโดยทั่วไปที่รัก และใส่ใจในสุขภาพ โดยปัจจุบันได้มีการพูดคุยกับภาคเอกชนเพื่อผลักดันสู่ตลาดต่อไป

ขอบเขต/พื้นที่ศึกษา

วัตถุประสงค์

เพื่อลดการขาดดุลทางการค้า จากการนำเข้าจากต่างประเทศ

แหล่งทุนสนับสนุน

หน่วยงานที่ร่วมมือ

1) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

2) กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

1) ผู้ประกอบการ

2) กลุ่มผู้บริโภค

ระดับความร่วมมือ

ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

อ้างอิงการดำเนินงาน

https://www.newsplus.co.th/174028

Education for the SDG’s การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ



หน่วยงานของท่านมีหลักสูตรที่มีเป้าหมาย/วัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs) อยู่ในระดับใด

1) อบรมหลักสูตรเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขสำหรับบุคลากรทางการแพทย์จาก สปป.ลาว รุ่นที่ 21

SDGs 17 PARTNERSHIPS FOR THE GOALS

 

 

 

 

 

ชื่องานวิจัย : อบรมหลักสูตรเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขสำหรับบุคลากรทางการแพทย์จาก สปป.ลาว รุ่นที่ 21


คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ที่มาและความสำคัญ

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายปี พร้อมกับได้พระราชทานเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้แก่โรงพยาบาลแขวงต่างๆ ตามความต้องการของโรงพยาบาล เพื่อสนับสนุนการดาเนินงานของโรงพยาบาล และด้วยทรงตระหนักว่าสุขภาพของประชาชนเป็นสิ่งสาคัญยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ ดังนั้นการพัฒนางานการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อให้ประชาชนทุกคนมีสุขภาพดี จึงจำเป็นต้องอาศัยบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่มีความรู้และความชำนาญ รวมทั้งเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ทันสมัย ประกอบกับในระยะเวลาที่ผ่านมาสังคมโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมากขึ้น สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จึงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดการฝึกอบรมเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขสาหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข จากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในหลักสูตรต่าง ๆ ตั้งแต่ ค.ศ. 2000 เป็นต้นมา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะในการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาลและการบริหารงานแก่บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และเพื่อเปิดโอกาสให้บุคลากรของทั้งสองประเทศได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และประสานความร่วมมือกันในการพัฒนางานการแพทย์และสาธารณสุข ตลอดจนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนต่อไป

ในปี 2017 ได้มีการหารือร่วมกันคณะทางานฝ่ายไทย และ สปป.ลาว โดยได้จัดทำแผนการพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขขึ้น เป็นแผนระยะ 5 ปี ค.ศ.2019 – 2023 เพื่อสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขของ สปป.ลาวให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ดังนั้นเพื่อให้การพัฒนางานเป็นไปอย่างต่อเนื่อง สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จึงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดการฝึกอบรมเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขสาหรับบุคลากรทางการแพทย์จากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว รุ่นที่ 21 ใน ค.ศ. 2019 นี้ขึ้น

ขอบเขต/พื้นที่ศึกษา

คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล

วัตถุประสงค์

1) เพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะในด้านการตรวจวินิจฉัย การรักษาโรค การดูแลผู้ป่วย การดูแลสุขภาพฟัน การใช้ยา การบริหารงานสาธารณสุข งานโภชนาการ และการจัดการศึกษา

2) เพื่อเพิ่มพูนทักษะกระบวนการทางานเป็นทีมและการพัฒนางานอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

3) เพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะในการเขียนและการนาเสนอผลงานทางวิชาการ

4) เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์

แหล่งทุนสนับสนุน

หน่วยงานที่ร่วมมือ

1) มหาวิทยาลัยมหิดล

2) กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ

3) โครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี สานักพระราชวัง

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

บุคลากรทางการแพทย์จาก สปป.ลาว

ระดับความร่วมมือ

ระดับประเทศ

ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

18 กุมภาพันธ์ – 27 มีนาคม 2562

อ้างอิงการดำเนินงาน

https://mt.mahidol.ac.th/2019/04/04/%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%b5%e0%b8%9b%e0%b8%b4%e0%b8%94%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%ad%e0%b8%9a%e0%b8%a3%e0%b8%a1%e0%b9%83%e0%b8%99%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%aa%e0%b8%b9/