Operations การบริหารจัดการด้านการบริโภค
หน่วยงานของท่านมีนโยบาย/ข้อกำหนด/มาตรการ ในการจัดการขยะอันตรายหรือไม่
SDGs 12 RESPONSIBLE CONSUMPTION & PRODUCTION
ชื่องานวิจัย : การจัดการขยะอันตราย
คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ที่มาและความสำคัญ
คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องความปลอดภัย อาชีวอนามัยทั้งของนักศึกษา บุคลากร ผู้มาปฏิบัติงาน ผู้มารับบริการ และสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัยที่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย รวมทั้งสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยของชุมชนโดยรอบ โดยยึดแนวทางการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย คณะเทคนิคการแพทย์จึงได้ออกประกาศนโยบายและแนวปฏิบัติ รวมถึงกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ เพื่อแสดงถึงปณิธานและความมุ่งมั่นในด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม ในการนี้ คณะเทคนิคการแพทย์ ได้รับมอบถังจากศูนย์บริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อใช้ในการคัดแยกของเสียอันตรายจากชุมชน ประเภท ถ่านไฟฉาย หลอดฟลูออเรสเซนต์ แบตเตอรี่โทรศัพท์ กระป๋องสเปรย์บรรจุสีหรือสารเคมี เพื่อให้การบริหารจัดการของเสียอันตรายจากชุมชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการปนเปื้อนของเสียอันตรายสู่สิ่งแวดล้อม และเพื่อส่งเสริมให้บุคลากรและนักศึกษามีความตระหนักเรื่องการคัดแยก การเก็บรักษา การส่งกาจัดของเสียอันตราย รวมทั้งมีแนวปฏิบัติในการจัดการของเสียอันตรายจากชุมชนที่ได้มาตรฐานและเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั่วทั้งมหาวิทยาลัย
ขอบเขต/พื้นที่การศึกษา
คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
วัตถุประสงค์
1) เพื่อเป็นการให้ความรู้และปลูกจิตสำนึกให้บุคลากรและนักศึกษาทราบถึงอันตรายจากขยะ
2) เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรและนักศึกษาคัดแยกขยะอันตรายออกจากขยะทั่วไป
3) เพื่อให้บุคลากรและนักศึกษามีความรู้ความเข้าใจและสามารถคัดแยกขยะอันตราย
4) เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและลดอันตรายต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากขยะอันตราย
แหล่งทุนสนับสนุน
–
หน่วยงานที่ร่วมมือ
–
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
1) นักศึกษา
2) บุคลากร
3) ผู้มาปฏิบัติงาน
4) ผู้มารับบริการ
ระดับความร่วมมือ
–
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ
1 ตุลาคม 2561 – 30 กันยายน 2562
อ้างอิงการดำเนินงาน
https://drive.google.com/drive/folders/1YcEn29793xteMg4VVxfK2Ekkj_PKuoEM?usp=sharing
หน่วยงานของท่านมีนโยบาย/ข้อกำหนด/มาตรการ ในการลดขยะพลาสติกหรือไม่
SDGs 12 RESPONSIBLE CONSUMPTION & PRODUCTION
ชื่องานวิจัย : การลดขยะพลาสติก
คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ที่มาและความสำคัญ
คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล เห็นถึงความสำคัญในการลดปริมาณการใช้ถุงพลาสติก จึงดำเนินกิจกรรมรณรงค์ลดการใช้ถุงพลาสติก เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และส่งเสริมให้เกิดความตระหนักปลูกฝังจิตสำนึกให้กับบุคลากร นักศึกษา ประชาชนทั่วไป ในการลดใช้ถุงพลาสติกซึ่งเป็นบรรจุภัณฑ์ย่อยสลายยาก โดยรณรงค์ให้ใช้แก้วน้ำส่วนตัวและใช้ถุงผ้าใส่ของทดแทน
ขอบเขต/พื้นที่การศึกษา
คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
วัตถุประสงค์
1) เพื่อลดปริมาณการใช้ถุงพลาสติกและกล่องโฟม
2) งดใช้ภาชนะประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้ง โดยใข้แก้วน้ำส่วนตัว ลดการใช้พลาสติกหูหิ้วและใช้ถุงผ้าใส่ของทดแทน
3) รณรงค์สร้างจิตสำนึกในการรักษาสิ่งแวดล้อม
4) เพื่อส่งเสริมให้บุคลากร นักศึกษา และผู้รับบริการ มีจิตสำนึกและมีส่วนรว่ามในการลดการใช้พลาสติก และภาชนะโฟมบรรจุอาหาร
5) เพื่อลดปริมาณขยะพลาสติก ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร
แหล่งทุนสนับสนุน
–
หน่วยงานที่ร่วมมือ
–
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
1) นักศึกษา
2) บุคลากร
3) ผู้มาปฏิบัติงาน
4) ผู้มารับบริการ
ระดับความร่วมมือ
–
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ
ดำเนินการเป็นประจำทุกปี
อ้างอิงการดำเนินงาน
https://mt.mahidol.ac.th/wp-content/uploads/home/main/SDGs/2020/SDGs12/2/Plstic-Waste.pdf
หน่วยงานของท่านมีนโยบาย/ข้อกำหนด/มาตรการ ในการลดปริมาณขยะที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งหรือไม่ เช่น ถุงพลาสติกหูหิ้วหรือแก้วพลาสติก (Single use plastic)
SDGs 12 RESPONSIBLE CONSUMPTION & PRODUCTION
ชื่องานวิจัย : การรณรงค์งดใช้ถุงพลาสติก
คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ที่มาและความสำคัญ
คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล เล็งเห็นว่าขยะพลาสติกเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีความสำคัญ ดังนั้น เพื่อลดปัญหามลพิษที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและลดภาระให้กับสังคมและโลก คณะฯ จึงแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวมในการลดภาระปริมาณขยะพลาสติกต่อชุมชนและสังคม จึงได้มีการรณรงค์ให้นักศึกษา บุคลากร และประชาชนทั่วไปที่มาใช้บริการร้านค้าภายในโรงอาหารของคณะฯ งดใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติก เช่น ถุงพลาสติก ช้อนพลาสติก และหลอดพลาสติก โดยรณรงค์ให้ใช้แก้วน้ำส่วนตัวและใช้ถุงผ้าใส่ของทดแทน
ขอบเขต/พื้นที่การศึกษา
คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
วัตถุประสงค์
1) เพื่อลดปริมาณการใช้ถุงพลาสติก
2) งดใช้ภาชนะประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้ง โดยใข้แก้วน้ำส่วนตัว ลดการใช้พลาสติกหูหิ้วและใช้ถุงผ้าใส่ของทดแทน
3) รณรงค์สร้างจิตสำนึกในการรักษาสิ่งแวดล้อม
4) เพื่อส่งเสริมให้บุคลากร นักศึกษา และผู้รับบริการ มีจิตสำนึกและมีส่วนรว่ามในการลดการใช้พลาสติก และภาชนะโฟมบรรจุอาหาร
5) เพื่อลดปริมาณขยะพลาสติก ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร
แหล่งทุนสนับสนุน
–
หน่วยงานที่ร่วมมือ
–
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
1) นักศึกษา
2) บุคลากร
3) ผู้มาปฏิบัติงาน
4) ผู้มารับบริการ
ระดับความร่วมมือ
–
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ
ดำเนินการเป็นประจำทุกปี
อ้างอิงการดำเนินงาน
https://drive.google.com/drive/folders/1YcEn29793xteMg4VVxfK2Ekkj_PKuoEM?usp=sharing
Percentage of waste recycled ร้อยละขยะที่นำกลับมาใช้ใหม่
SDGs 12 RESPONSIBLE CONSUMPTION & PRODUCTION
ชื่องานวิจัย : ปริมาณขยะ
คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ที่มาและความสำคัญ
คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล เล็งเห็นขยะเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีความสำคัญ จากการสังเกตปริมาณขยะทั้งหมดในคณะฯ พบว่ามีจำนวนขยะประเภทรีไซเคิลปริมาณมาก คณะฯ จึงได้จัดกิจกรรม MT GREEN DAY ร่วมด้วยช่วยกันลดโลกร้อนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยการรณรงค์ให้มีการคัดแยกขยะ และสร้างขยะให้มีมูลค่าเพิ่ม โดยคณะกรรมการพลังงานฯ ได้ให้บุคลากรนำขวดน้ำใส/ขุ่น มาแลกไข่ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวคณะได้จัดเป็นประจำทุกปีโดยได้รับความสนใจจากบุคลากรทั้งในและนอกส่วนงานเป็นจำนวนมาก
ขอบเขต/พื้นที่การศึกษา
คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
วัตถุประสงค์
1) เพื่อรณรงค์สร้างจิตสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนวินัยในการแยกและทิ้งขยะให้กับนักศึกษาและบุคลากร
2) เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของนักศึกษาและบุคลากรในการดูแลรักษาสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัย โดยการลดภาระการจัดการขยะมูลฝอยและปัญหามลพิษจากขยะมูลฝอย
3) ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำรงชีวิตขั้นพื้นฐาน
4) ลดปริมาณขยะพลาสติก เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ ใช้ซ้ำ
แหล่งทุนสนับสนุน
–
หน่วยงานที่ร่วมมือ
–
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
1) นักศึกษา
2) บุคลากร
3) ผู้มาปฏิบัติงาน
4) ผู้มารับบริการ
ระดับความร่วมมือ
–
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ
ดำเนินการเป็นประจำทุกปี
อ้างอิงการดำเนินงาน
https://drive.google.com/drive/folders/1YcEn29793xteMg4VVxfK2Ekkj_PKuoEM?usp=sharing